เมนู

ด้วยพระคาถานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการ ความที่จิต
ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรม 8 อย่าง 1 จิตไม่เศร้าโศก 1 จิตปราศจากธุลี 1
จิตเกษม 1 ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านี้เป็นมงคล ข้าพเจ้า
ได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล
จบการพรรณนาเนื้อความ แห่งคาถาที่ว่า
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ เป็นต้นนี้

คาถาที่ 11


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 38 ประการ ด้วยพระคาถา 10 พระ-
คาถาว่า อเสวน จ พาลานํ ดังนี้เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. บัดนี้
เมื่อจะทรงชมเชยมงคล ที่พระองค์ตรัสไว้เหล่านี้แล จึงได้ตรัสพระคาถาสุดท้าย
นี้ว่า เอตาทิสานิ กตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.
การพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้.
คำว่า เอตาทิสานิ ความว่า มงคลทั้งหลาย มีการไม่เสพพวกคน
พาลเป็นต้น เช่นนี้ เหล่านี้ คือที่มีประการอันเรากล่าวแล้ว.
บทว่า กตฺวาน ได้แก่ การทำแล้ว จริงอยู่บท 3 บท คือ กตฺวาน
กตฺวา กริตฺวา
โดยเนื้อความก็ไม่ใช่อื่น (ถือเป็นอันเดียวกัน)
บทว่า สพฺพตฺถมปราชิตา ความว่า เป็นผู้แม้อันศัตรูอย่างหนึ่งใน
บรรดาศัตรู 4 ประเภท อันต่างโดยขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร และ
เทวปุตตมาร จะให้พ่ายแพ้ไม่ได้ อธิบายว่า ทำมารทั้ง 4 ประเภทเหล่านั้น

ให้พ่ายแพ้เสียเอง ก็ อักษรในคำว่า สพฺพตฺถมปราชิตา นี้ พึงทราบว่า
เป็นการเชื่อมบท (บทสนธิ)
บาทคาถาว่า สพฺพตฺถ โสตถึ คจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลกระทำ
ตามมงคล เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ที่มารทั้ง 4 ให้แพ้ไม่ได้ ย่อมถึงความสวัสดี
ในที่ทั้งปวง คือในโลกนี้และโลกหน้า และในสถานที่ทั้งหลาย มีทางเดิน
จงกรมเป็นต้น มีคำอธิบายว่า อาสวะ การเข่นฆ่า และความเร่าร้อนเหล่า
ใด จะพึงเกิดขึ้น จากการคบคนพาลเป็นต้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงความ
สวัสดี เพราะไม่มีอาสวะ การเข่นฆ่าและความเร่าร้อนเหล่านั้น ถือว่า เป็นผู้
ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค มีความเกษม ไม่มีภัย ย่อมถึงความสวัสดีได้
ก็อนุนาสิก (นิคคหิต) ในคำว่า สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ นี้ พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง ด้วยบาทพระคาถานี้ว่า ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมํ.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงอย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง โดยพุทธประสงค์
อย่างนี้ว่า ดูก่อนเทวบุตร ก็เพราะชนเหล่าใดกระทำตามมงคลเหล่านี้ อย่างนี้
ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจงถือเอามงคลทั้ง 38
ประการ มีการไม่เสพพวกคนพาลเป็นต้นนั้น เป็นมงคลอย่างสูงสุด ได้แก่
ประเสริฐที่สุด คือเลิศสำหรับชนทั้งหลายเหล่านั้น ผู้กระทำตามมงคลเหล่านี้นี้.
ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงแล้ว
อย่างนี้ เทวดาประมาณแสนโกฏิบรรลุพระอรหัต. ผู้ที่บรรลุเป็นพระ
โสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี นับไม่ถ้วน.

ต่อจากนั้นในวันที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนทเถระ
มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วถาม
มงคลปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงได้กล่าวมงคล 38 ประการ แก่เทวดานั้น
ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนมงคลนี้ ครั้นเรียนมงคลปริยาขึ้นแล้วจงบอกภิกษุ
ทั้งหลาย. พระเถระเรียนเอาแล้ว จึงได้บอกภิกษุทั้งหลาย มงคลสูตรนี้นั้น
อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา ย่อมเป็นมาได้จนถึงทุกวันนี้ พรหมจรรย์นี้พึงทราบ
ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว จนกระทั่งบริบูรณ์ แพร่หลาย
กว้างขวาง มีคนรู้กันมาก และเป็นปึกแผ่น ด้วยประการฉะนี้.

สรุปมงคล 38


บัดนี้ เพื่อความฉลาดในการอบรมญาณ ในมงคลเหล่านี้นั้น แหละ จึง
มีโยชนา (วาจาประกอบการอธิบายความให้เชื่อมกัน) จำเดิมแต่ต้นดังต่อไปนี้.
สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้ใคร่ต่อความสุขในโลกนี้ โลกหน้าและโลกุตร-
สุข ละการเสพคนพาล อาศัยบัณฑิตทั้งหลาย บูชาซึ่งบุคคลทั้งหลาย ที่ควร
บูชา อันการอยู่ในประเทศอันสมควร และการเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วใน
ปางก่อน ตักเตือนอยู่ ในการสั่งสมกุศล จึงตั้งตนไว้ชอบ มีอัตภาพอันประดับ
แล้ว ด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย กล่าวอยู่ซึ่งวาจาสุภาษิต อันสมควร
แก่วินัย ตนยังไม่ละความเป็นคฤหัสถ์ตราบใด ก็ชำระหนี้เก่าโดยการเลี้ยงดู
มารดาบิดาอยู่ตราบนั้น ประกอบหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยาอยู่
บรรลุถึงความสำเร็จแห่งสมบัติ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยความ
เป็นผู้มีการงานไม่อากูล ถือเอาสาระแห่งโภคะด้วยการให้ทานและสาระแห่ง